Pepperstone logo
Pepperstone logo

เรียนรู้การซื้อขาย

Beginner

การเทรดทองคำคืออะไร?

ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงแม้ว่าจะมีการใช้งานทางอุตสาหกรรมอย่างจำกัด แต่ก็ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งสะสมมูลค่าและเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ

GoldTrading_TH_240927_01_1200x650-min.jpg

ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงแม้ว่าจะมีการใช้งานทางอุตสาหกรรมอย่างจำกัด แต่ก็ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งสะสมมูลค่าและเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ

ทองคำเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก และราคาของทองคำจะผันผวนตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอก เช่น การแข็งค่าของ US Dollar และสถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจโลกมีอิทธิพลอย่างมากต่อมูลค่าตลาดของทองคำ

เทรดเดอร์ทองคำหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ ซื้อทองคำเมื่อราคากำลังเพิ่มขึ้นและขายเมื่อราคาทองคำลดลง

ประเภททองคำที่สามารถเทรดได้มีอะไรบ้าง?

ทองคำสามารถเทรดได้ในหลากหลายรูปแบบ มีทั้งเหรียญ, แท่งโลหะ, เครื่องประดับ และใบรับรองทองคำ อย่างไรก็ตาม การเทรดที่มีชื่อเสียงที่สุดคือตลาดทองคำแท่ง ทองคำแท่งเป็นชื่อที่ตั้งให้กับแท่งทองคำเกือบบริสุทธิ์ที่มีน้ำหนัก 400 ทรอยออนซ์หรือ 12.40 กิโลกรัม

กล่าวกันว่า "การส่งมอบที่ดี" หมายความว่าเป็นที่ยอมรับของเทรดเดอร์และธนาคารในตลาดทองคำแท่ง สำหรับทองคำแท่งมีทั้งตลาดเงินสดหรือตลาด Spot และยังมีตลาด Futures อีกด้วย

เมื่อทำการเทรดทองคำ CFDs เทรดเดอร์จะไม่ทำการเทรดทองคำจริง แต่จะเทรดผ่านสัญญาที่ชำระเป็นเงินสดและไม่ต้องทีการส่งมอบ เป็นการเข้าถึงราคาทองคำและเทรดโดยไม่จำเป็นต้องจัดการหรือส่งมอบแท่งทองคำจริงๆ ทองคำมักจะเทรดในสกุลเงิน US Dollar ต่อน้ำหนักออนซ์ แต่สามารถตั้งราคาในสกุลเงินอื่นได้

นอกจากนี้ยังสามารถเทรดใน ETFs หรือกองทุนที่เทรดในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการติดตามราคาทองคำ ETFs จะถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และสามารถเทรดในลักษณะเดียวกับหุ้นและหลักทรัพย์

ทำไมต้องเทรดทอง?

ทองคำมักเป็นที่ต้องการของตลาด และราคาของทองคำสามารถเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของตลาดโดยรวม และด้วยเหตุผลเหล่านี้และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ราคาของทองคำจึงแทบจะไม่คงที่ การเทรดทองคำหมายความว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคา

การเทรดทองคำยังช่วยให้คุณสามารถกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์น้อยกับหุ้นและพันธบัตร นอกจากนี้ ทองคำยังมักถูกมองว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและที่เก็บมูลค่าเนื่องจากสถานะของทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ค่อนข้างหายาก

ตามข้อมูลจากองค์กรอุตสาหกรรม World Gold Council มีการผลิตทองคำเพียง 212,500 ตันในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และส่วนใหญ่ถูกผลิตตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา

การเทรดทองคำ CFDs มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

การเทรดทองคำมีความเสี่ยงหลายประการ เช่น หากการเทรดไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับแนวโน้มที่ของการเคลื่อนไหวของราคาอาจทำให้เกิดการขาดทุนได้ การ Overtrading โดยการเปิดออเดอร์ที่มีขนาดใหญ่เกินไปหรือเปิดออเดอร์มากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดบัญชีของคุณก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

นอกจากนี้ การจัดการความเสี่ยงที่ไม่ดี เช่น การตั้งค่า stop loss ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป หรือการรักษาสัดส่วนความเสี่ยง-ผลตอบแทนที่ไม่ดีอาจนำไปสู่การขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ การจัดการปัจจัยเหล่านี้อย่างระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในการเทรดทองคำ

ตลาดทองคำมักถูกขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อมั่นของตลาด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและจึงยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า

ตลาดทองคำถูกดำเนินการในระดับการค้าส่ง โดยมีผู้เข้าร่วมตั้งแต่เทรดเดอร์และสถาบันมืออาชีพไปจนถึงธนาคารกลาง

ทองคำ CFDs เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มผลกำไรจากการเทรด แต่ก็สามารถเพิ่มการขาดทุนจากการเทรดได้เช่นกัน

เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์มีผลกระทบต่อราคาทองคำอย่างไร?

เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์และ/หรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสามารถมีอิทธิพลอย่างมากต่อราคาทองคำ นักลงทุนและเทรดเดอร์มักจะขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในช่วงวิกฤตและมองหาที่จะย้ายเงินของพวกเขาไปยังสินทรัพย์ที่ถือว่าเป็นที่หลบภัย เช่น ทองคำ การหมุนเวียนของเงินที่หนีความเสี่ยงเหล่านี้สามารถดันราคาทองคำให้สูงขึ้นได้

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตรก็สามารถทำให้ราคาทองคำตกลงได้เช่นกัน เนื่องจากทองคำไม่ให้ผลตอบแทน เช่น ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล เมื่ออัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น นักลงทุนอาจเลือกสินทรัพย์ที่ให้รายได้เหล่านี้มากกว่าทองคำ ซึ่งนำไปสู่การลดลงของความต้องการทองคำ

ทุนระหว่างประเทศมักจะหมุนเวียนไปยังสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดสำหรับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดังนั้น ทองคำมักเผชิญกับการแข่งขันโดยตรงจากสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น นักลงทุนอาจย้ายทุนของพวกเขาไปยังสินทรัพย์เหล่านี้ซึ่งให้ผลตอบแทนจากการจ่ายดอกเบี้ย ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อความต้องการและราคาทองคำ

จะรวมการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคเข้ากับกลยุทธ์การเทรดทองคำได้อย่างไร?

การรวบรวมการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคเข้ากับกลยุทธ์การเทรดทองคำเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของของปัจจัยหลัก การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของ US Dollar สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาทองคำ โดยที่ดอลลาร์ได้รับผลกระทบจากข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์มหภาคต่างๆ

การประกาศข้อมูลที่มีผลกระทบสูง เช่น ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-Farm Payrolls), ข้อมูลเงินเฟ้อ, และการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง มักมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ การติดตามปฏิทินทางเศรษฐกิจมหภาคช่วยในการระบุเหตุการณ์เหล่านี้ล่วงหน้า

ตลาดมักจะตอบสนองต่อข้อมูลใหม่ และการเบี่ยงเบนอย่างมีนัยสำคัญจากแนวโน้มและการคาดการณ์อาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของตลาดที่รุนแรง

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ?

GoldTrading_TH_240927_02_1200x650-min.jpg

ราคาทองคำได้รับผลกระทบจากหลากหลายปัจจัย ซึ่งอาจรวมถึงความเชื่อมั่นของตลาด, การเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจ, รายงานการผลิต, การปิดเหมือง, ความขัดแย้ง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์และอุปทานในตลาดทองคำเอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของ US Dollar อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบที่สำคัญและยั่งยืนที่สุด

การแข็งค่าของ US Dollar มักจะทำให้ราคาทองคำลดลง ในขณะที่ US Dollar ที่อ่อนค่ามักจะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น ราคาทองคำยังสามารถได้รับผลกระทบจากการประเมินค่าของทองคำเมื่อเปรียบเทียบกับโลหะมีค่าและสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอื่น ๆ

ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ทองคำบางคนให้ความสำคัญกับอัตราส่วนทองคำ-เงิน ซึ่งคือราคาทองคำหารด้วยราคาเงิน เทรดเดอร์จะเปรียบเทียบอัตราส่วนปัจจุบันและแนวโน้มราคากับเกณฑ์และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

วิธีการเทรดทองคำมีอะไรบ้าง?

วิธีในการเทรดทองคำมีหลายวิธี:

  1. ทองคำจริง: เป็นหนึ่งในตัวเลือกคือการซื้อทองคำจริง แม้ว่าทองคำที่เป็นไปตามมาตรฐาน Good Delivery จะมีให้บริการ แต่ทองคำแท่งขนาดเล็กและเหรียญทองคำที่มีราคาย่อมเยาก็สามารถใช้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จำเป็นต้องจัดการกับปัญหาเรื่องการจัดเก็บและความปลอดภัย เนื่องจากการเก็บรักษาทองคำต้องได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสมและไม่สามารถทิ้งไว้โดยไม่มีการรักษาความปลอดภัย
  2. ทองคำ ETFs: อีกทางเลือกหนึ่งคือการเทรด ETFs ที่ติดตามราคาทองคำ เช่น SPDR Gold Trust (Ticker GLD) ซึ่งติดตามราคาทองคำโดยการลงทุนในทองคำจริง
  3. ทองคำ CFDs: วิธีที่พบบ่อยในการเทรดทองคำคือการเทรดทองคำในรูปแบบ CFD (Contracts for Difference) การเทรด CFD ไม่มีขนาดสัญญาที่กำหนดตายตัวหรือวันหมดอายุ และสามารถเทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง สัญญาเหล่านี้จะทำการชำระเงินเป็นเงินสดและไม่ต้องมีการส่งมอบ ซึ่งสามารถเทรดได้ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่นาทีหรือหลายวัน ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และระยะเวลาในการเทรดของคุณ

จะเริ่มเทรดทองคำได้อย่างไร?

ในการเริ่มต้นการเทรดทองคำ CFDs สามารถทำได้เพียงแค่ทำตามขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

  1. คุณจะต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ CFD เช่น Pepperstone ซึ่งจะให้คุณเลือกแพลตฟอร์มการเทรดและเข้าถึงราคาทองคำ CFDs
  2. เมื่อบัญชีเทรดของคุณเปิดใช้งานแล้ว คุณสามารถทำการฝากเงินเข้าบัญชีได้
  3. ขั้นตอนถัดไปคือการดาวน์โหลดแพลตฟอร์มการเทรดและทำความคุ้นเคยกับการใช้งาน
  4. เทรดเดอร์มือใหม่สามารถทำความเข้าใจแพลตฟอร์มการเทรดและตลาดได้โดยการใช้บัญชีทดลอง ซึ่งจำลองสภาพตลาดสดและการเทรดโดยไม่ต้องเสี่ยงกับเงินจริง
  5. เมื่อคุณมั่นใจในการใช้แพลตฟอร์มการเทรดแล้ว คุณก็จะพร้อมที่จะเริ่มต้นการเทรดทองคำ CFDs
  6. Pepperstone เทรดในสิ่งที่เรียกว่าทองคำ CFDs (Contracts For Differences) ซึ่งจะชำระเงินเป็นเงินสดและไม่ต้องมีการส่งมอบ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการส่งมอบสินค้า

เลเวอเรจคืออะไรและใช้อย่างไรในการเทรดทองคำ?

เลเวอเรจช่วยให้คุณสามารถเพิ่มขนาดการลงทุนของคุณได้ ทำให้คุณสามารถควบคุมตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้นในตลาดทองคำมากกว่าที่ยอดเงินในบัญชีของคุณจะอนุญาต

เลเวอเรจจะถูกใช้ผ่านการเทรดแบบมาร์จิ้น ซึ่งโบรกเกอร์ของคุณจะใช้เงินในบัญชีการเทรดของคุณเป็นหลักประกัน

ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเงิน $500.00 ในบัญชีของคุณและโบรกเกอร์ของคุณเสนอเลเวอเรจ 10 เท่าสำหรับการเทรดทองคำ คุณจะสามารถเปิดออเดอร์ที่มีมูลค่าสูงถึง $5000.00 ในทองคำ ซึ่งเป็น 10 เท่าของยอดเงินในบัญชี $500.00 ของคุณ

เพื่อให้ได้เลเวอเรจนี้ โบรกเกอร์ของคุณจะให้ยืมส่วนต่างระหว่างมาร์จิ้นเริ่มต้นหรือเงินฝากของคุณกับมูลค่าตามสัญญาของการเทรด

หากคุณมีออเดอร์เปิดไว้ข้ามคืน คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยบนมูลค่าตามสัญญาของการเทรด อย่างไรก็ตาม ไม่มีค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยสำหรับออเดอร์ที่เปิดและปิดในวันทำการเดียวกัน

โปรดทราบว่าอัตรามาร์จิ้นหรือเลเวอเรจอาจแตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์และเขตการกำกับดูแล

จะวิเคราะห์แนวโน้มตลาดทองคำได้อย่างไร?

ราคาทองคำได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ซึ่งหลายปัจจัยก็สามารถติดตามได้ง่าย ตัวชี้วัดสำคัญประกอบด้วย:

  • ความแข็งค่าหรือความอ่อนค่าของ US Dollar: ติดตามความผันผวนของสกุลเงินเนื่องจากราคาทองคำมีการกำหนดราคาเป็น US Dollar
  • การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจมหภาค: ให้ความสนใจกับการเปิดเผยข้อมูลสำคัญและเปรียบเทียบกับแนวโน้มและการคาดการณ์
  • ความต้องการทองคำและการจัดตำแหน่งในตลาดฟิวเจอร์ส: ติดตามรายงาน Commitment of Traders รายสัปดาห์ที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐฯ (CFTC)
  • World Gold Council: อ่านใช้เนื้อหาและข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของ World Gold Council เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทองคำและแนวโน้มตลาด

จะเลือกกลยุทธ์การเทรดทองคำ CFD ได้อย่างไร?

กลยุทธ์การเทรดทองคำ CFDs ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงขนาดของบัญชีการเทรดของคุณ, ประสบการณ์การเทรดของคุณ, ช่วงเวลาที่คุณสามารถเทรดได้, และเวลาที่คุณสามารถทุ่มเทให้กับการติดตามตลาดทองคำ

เทรดเดอร์ที่เทรดทองคำ CFDs หลายคนเริ่มต้นด้วยกลยุทธ์ที่เรียบง่าย เช่น การซื้อหรือขายทองคำตามความแข็งค่าหรือความอ่อนค่าของ US Dollar หรือความเชื่อมั่นของตลาดที่กว้างขึ้น (พฤติกรรม risk-on/risk-off) ซึ่งสามารถเสริมด้วยแนวทางการติดตามแนวโน้มของตลาด

ตัวอย่างเช่น หาก US Dollar อ่อนค่าลงและราคาทองคำสูงขึ้น การซื้อทองคำอาจเหมาะสม ในทางกลับกัน หาก US Dollar แข็งค่าขึ้นและราคาทองคำลดลง การขายทองคำอาจเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง

เทรดเดอร์มักจะรวมการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ากับกลยุทธ์เพื่อยืนยันแนวโน้ม หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดคือการติดตามการตัดกันระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (moving average) สองตัว โดยใช้การรวมกันของค่าเฉลี่ยที่เร็วขึ้นและช้าลง หากค่าเฉลี่ยระยะสั้น (faster-moving) ข้ามขึ้นเหนือค่าเฉลี่ยที่เคลื่อนที่ช้า แสดงถึงแรงผลักดันราคาในทิศทางขาขึ้น ในทางกลับกัน หากค่าเฉลี่ยที่เคลื่อนที่เร็วข้ามลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่เคลื่อนที่ช้า แสดงถึงแรงผลักดันราคาในทิศทางขาลง

จะจัดการความเสี่ยงในการเทรดทองคำ CFDs ให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?

การจัดการความเสี่ยงในการเทรดทองคำ CFDs อย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามหลักการสำคัญหลายประการ:

  1. หลีกเลี่ยงการ Over-Trading: ราคาทองคำอาจมีความผันผวนและอาจไม่เคลื่อนไหวในทิศทางที่คุณต้องการเสมอไป การจำกัดจำนวนการเทรดช่วยในการจัดการความเสี่ยง
  2. Correct Position Sizing: การกำหนดขนาดออเดอร์ที่ถูกต้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าขนาดออเดอร์หรือจำนวนออเดอร์ที่เปิดอยู่เหมาะสมกับขนาดของบัญชีการเทรดจะช่วยลดความเสี่ยง
  3. ปฏิบัติตามแนวโน้มที่ตั้งไว้: แนวโน้มระยะยาวในตลาดทองคำมักได้รับแรงขับเคลื่อนจากความเชื่อมั่นของตลาดและการเคลื่อนไหวที่สำคัญของสถาบันต่างๆ รวมถึงธนาคารกลาง การคัดค้านแนวโน้มเหล่านี้อาจมีความเสี่ยง ควรรอให้มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าแนวโน้มกำลังจางลงก่อนที่จะพิจารณาเปิดออเดอร์ที่ตรงข้ามกับแนวโน้ม
  4. ใช้คำสั่งหยุดขาดทุน (Stop Loss Orders): การใช้คำสั่ง Stop Loss ช่วยจำกัดการขาดทุนจากการเทรดให้อยู่ในระดับที่รับได้ไว้ล่วงหน้า การพิจารณาอย่างรอบคอบจำเป็นต้องใช้เพื่อกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของคำสั่ง Stop Loss โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการ Slippage
  5. ติดตามสถานการณ์ของ US Dollar และข้อมูลเศรษฐกิจมหภาค: ราคาทองคำได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของ US Dollar และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ การศึกษาปฏิทินเศรษฐกิจมหภาคและการเข้าใจความคาดหวังของตลาดที่มีต่อการเปิดเผยข้อมูลหลักเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจการเทรด

การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจัดการความเสี่ยงในการเทรดทองคำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรดทองคำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร?

GoldTrading_TH_240927_03_1200x650-min.jpg

การวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มกำลังอ่อนลงหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) หมายถึง การที่ราคาของสินทรัพย์สร้างจุดสูงใหม่ (higher highs) และจุดต่ำใหม่ (higher lows) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งและทิศทางที่เป็นบวกในตลาด ในขณะที่แนวโน้มขาลง (Downtrend) หมายถึง การที่ราคาของสินทรัพย์สร้างจุดสูงต่ำใหม่ (lower highs) และจุดต่ำใหม่ (lower lows) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบ่งบอกถึงทิศทางที่เป็นลบและความอ่อนแอในตลาด

การวิเคราะห์ทิศทางของราคาเป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม เครื่องมือชี้วัดเช่น RSI (Relative Strength Index) ที่ใช้ระยะเวลา 14 วัน สามารถบ่งบอกได้เมื่อทองคำถูกซื้อมากเกินหรือขายมากเกิน ซึ่งอาจแสดงถึงการกลับตัวของแนวโน้ม

นอกจากนี้ รูปแบบแท่งเทียน เช่น "Hammer" และ "Shooting Star" สามารถบ่งบอกถึงจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดในราคาจะช่วยแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับทิศทางของแนวโน้ม

พร้อมซื้อขายแล้วหรือยัง?

เริ่มต้นอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทำการสมัครในไม่กี่นาทีด้วยขั้นตอนการสมัครที่เรียบง่ายของเรา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเทรดทองคำ CFDs

ทำไมทองคำจึงถือเป็น ‘สินทรัพย์ปลอดภัย’?

ทองคำถือเป็น ‘สินทรัพย์ปลอดภัย’ เนื่องจากถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเงินและเป็นที่เก็บมูลค่าได้รับความนิยมแทบทั่วโลก

ที่ผ่านมาในอดีต ราคาทองคำทำหน้าที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดมูลค่าสัมพันธ์ของสกุลเงินในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางหลายแห่งยังคงมีทองคำสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก

อุปทานของทองคำมีน้อย และถึงแม้จะไม่ได้ทนทานเป็นพิเศษ แต่ก็ทนทานต่อกรดทุกชนิด ยกเว้นกรดที่แรงที่สุด เชื่อกันว่าทองคำส่วนใหญ่ที่เคยขุดยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

ธนาคารกลางมีบทบาทอย่างไรในตลาดทองคำ?

ธนาคารกลางถือทองคำเป็นทางเลือกแทนการสำรองเงินตราที่เป็นสกุลเงินหรือกระดาษ

ธนาคารกลางซื้อและขายทองคำเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานปกติ โดยเพิ่มทองคำสำรองเมื่อขายสกุลเงินและขายทองคำเพื่อซื้อสกุลเงินหรือสินทรัพย์อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางมักจะมีความระมัดระวังและเป็นผู้ถือทองคำในระยะยาว

ตามข้อมูลจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) ธนาคารกลางในยุโรปถือทองคำในการสำรองประมาณ 11,774 ตัน

ทองคำ CFDs คืออะไรและทำงานอย่างไร?

ทองคำ CFDs คือสัญญาที่มีเลเวอเรจและมีการชำระเงินเป็นเงินสดตามราคาทองคำ

ทองคำ CFDs ช่วยให้เทรดเดอร์เก็งกำไรเกี่ยวกับการขึ้นและลงของราคาทองคำโดยไม่ต้องครอบครองหรือส่งมอบสินทรัพย์จริง ทำให้สามารถเปิดออเดอร์ Buy (long) และออเดอร์ Sell (short) ได้อย่างเท่าเทียม

CFD ถูกเทรดโดยตรงระหว่างคู่ค้า ซึ่งก็คือโบรกเกอร์ CFD และเทรดเดอร์

โบรกเกอร์ CFD ใช้เลเวอเรจของยอดเงินในบัญชีของเทรดเดอร์ ทำให้สามารถเปิดออเดอร์ที่ใหญ่กว่าที่สามารถทำได้ตามปกติ

ปัจจัยทางเศรษฐกิจหลักอะไรบ้างที่ส่งผลต่อราคาทองคำ?

ปัจจัยทางเศรษฐกิจสำคัญจากประเทศชั้นนำสามารถส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ
ซึ่งรวมถึง:
  • อัตราการว่างงานและตัวเลขการสร้างงาน: การว่างงานสูงอาจนำไปสู่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำเพิ่มขึ้น
  • สถิติเงินเฟ้อ: อัตราเงินเฟ้อมีผลต่ออำนาจการซื้อของเงิน เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น มูลค่าของสกุลเงินมักจะลดลง ทำให้ทองคำกลายเป็นการลงทุนที่น่าสนใจมากขึ้น
  • การสำรวจกิจกรรมอุตสาหกรรม (เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อหรือ PMI): การสำรวจเหล่านี้วัดสุขภาพทางเศรษฐกิจของภาคการผลิต กิจกรรมอุตสาหกรรมที่ลดลงสามารถบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งทำให้ความต้องการทองคำเพิ่มขึ้น
  • อัตราดอกเบี้ยและการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจากธนาคารกลางชั้นนำ: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการถือทองคำ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมักทำให้สินทรัพย์ที่ไม่ให้ผลตอบแทนเช่นทองคำมีความน่าสนใจน้อยลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสามารถทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นได้

ตัวชี้วัดเหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนประเมินเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและตัดสินใจลงทุนในทองคำได้อย่างรอบคอบมากขึ้น

US dollar มีผลกระทบต่อราคาทองคำอย่างไร?

ทองคำมีการตั้งราคาเป็น US Dollar ดังนั้นความผันผวนของมูลค่าของสกุลเงินสหรัฐในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราจะส่งผลโดยตรงต่อราคาทองคำ

ความสัมพันธ์ระหว่าง US Dollar กับราคาทองคำมักจะเป็นลักษณะตรงข้าม ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยกฎทั่วไปดังต่อไปนี้:

  • US Dollar แข็งค่า: เมื่อ US Dollar แข็งค่าขึ้น ราคาทองคำมักจะลดลง เนื่องจากดอลลาร์ที่แข็งค่าทำให้ทองคำในสกุลเงินอื่น ๆ มีราคาแพงขึ้น ซึ่งลดความต้องการของทองคำลง
  • US Dollar อ่อนค่า: ในทางตรงกันข้าม เมื่อ US Dollar อ่อนค่าลง ราคาทองคำมักจะสูงขึ้น ดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้ทองคำในสกุลเงินอื่น ๆ ราคาถูกลง ซึ่งจะเพิ่มความต้องการในโลหะมีค่า

ความสัมพันธ์แบบตรงข้ามระหว่าง US Dollar กับราคาทองคำได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย รวมถึงเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และความเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระดับโลก

การเทรดทองคำ CFDs สามารถทำกำไรได้หรือไม่?

การเทรดทองคำ CFDs สามารถทำกำไรได้จริง แต่ความสามารถในการทำกำไรนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงทักษะของเทรดเดอร์ กลยุทธ์ และระเบียบวินัย นี่คือบางจุดที่ควรพิจารณา:

  • ศักยภาพในการทำกำไรและขาดทุน: เช่นเดียวกับการเทรดทุกรูปแบบ การเทรดทองคำ CFDs สามารถทำกำไรได้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีความเสี่ยงสูง และขาดทุนก็สามารถเกิดขึ้นได้เร็วเช่นเดียวกับการทำกำไร
  • ความสำคัญของระเบียบวินัย: การเทรดทองคำ CFDs ให้ประสบความสำเร็จต้องการวิธีการที่มีระเบียบวินัย เทรดเดอร์ต้องปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่ชัดเจนและปฏิบัติตามหลักการบริหารความเสี่ยง การเทรดตามอารมณ์ การ Overtrading หรือการเพิกเฉยต่อกฎการบริหารความเสี่ยงสามารถทำให้ยอดเงินในบัญชีการเทรดหมดลงอย่างรวดเร็ว
  • บทบาทของเลเวอเรจ: เลเวอเรจเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเทรดทองคำ CFDs ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์ที่ใหญ่กว่าด้วยเงินทุนที่น้อยลง แม้ว่าเลเวอเรจจะสามารถเพิ่มกำไรได้ แต่ก็สามารถเพิ่มการขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องใช้ให้เหมาะสมและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลเวอเรจ
  • การบริหารความเสี่ยง: การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการตั้งคำสั่ง Stop Loss เพื่อจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น การเปิดออเดอร์ให้เหมาะสมกับยอดเงินในบัญชี และหลีกเลี่ยงการซื้อขายตรงข้ามกับแนวโน้มตลาด

การเทรดทองคำ CFDs สามารถทำกำไรได้ แต่ต้องใช้วิธีการที่มีระเบียบวินัย การบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง และความเข้าใจเกี่ยวกับเลเวอเรจอย่างละเอียด เทรดเดอร์ต้องตระหนักถึงศักยภาพในการทำกำไรและการขาดทุน การจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จในระยะยาวในตลาดทองคำ

ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกจัดทำตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นการสื่อสารทางการตลาด แม้ว่าจะไม่มีการห้ามทำธุรกรรมก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน แต่เราจะไม่แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ก่อนที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าของเรา

Pepperstone ไม่รับประกันว่าข้อมูลที่นำเสนอมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน หรือสมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้นจึงไม่ควรยึดถือเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ข้อมูลไม่ว่าจะมาจากบุคคลที่สามหรือไม่ ก็ควรไม่ถือเป็นคำแนะนำ หรือข้อเสนอในการซื้อหรือขาย หรือการชักชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือตราสารทางการเงินใด ๆ หรือเพื่อเข้าร่วมในกลยุทธ์การซื้อขายใด ๆ ข้อมูลนี้ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์ทางการเงินหรือวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้อ่าน เราขอแนะนำให้ผู้อ่านข้อมูลนี้ตัดสินใจการลงทุนด้วยตนเอง ห้ามทำซ้ำหรือแจกจ่ายเนื้อหานี้หากไม่ได้รับอนุญาตจาก Pepperstone